เป็นเวลาเกือบสองเดือนแล้วที่สโมสรเชลซีถูกควบคุมกิจการโดยรัฐบาลอังกฤษ หลัง โรมัน อบราโมวิช ถูกลงโทษโดยกลุ่มชาติตะวันตก เพื่อเป็นการตอบโต้ที่ประเทศรัสเซียรุกรานยูเครน
ท่ามกลางความวิตกกังวลถึง อนาคตที่ไม่แน่นอนของสโมสรแห่งนี้ กลับกลายเป็นว่าทุกอย่างยัง คงดำเนินไปราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น เชลซียังคงเดินหน้าล่าแชมป์ และล่าสุดพวกเขาได้รับการยืนยัน แล้วว่าจะเดินหน้าในตลาดซื้อ ขายต่อไปไม่ว่าจะได้เจ้าของใหม่หรือไม่
จะลองมาอธิบายว่าทำไมเชลซี ที่ถูกควบคุมโดยรัฐบาลจึงเอาตัวรอดได้ก่อน ที่เจ้าของใหม่จะมาถึง ทั้งที่ถูกปิดกั้นไม่ให้แสวงหา ผลกำไรมากมายเหมือนเมื่อก่อน
ควบคุมกิจการโดยรัฐบาลอังกฤษ
การแทรกแซงและเปลี่ยนแปลงเจ้า ของสโมสรเชลซีถือเป็นหนึ่งใน มาตรการตอบโต้การบุกรุกยูเครนของ ประเทศรัสเซียโดยรัฐบาลของประเทศฝั่งตะวันตก ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสโมสรเชลซีอย่าง โรมัน อบราโมวิช ที่ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มโอลิการ์ก หรือมหาเศรษฐีชาวรัสเซียที่มีส่วนช่วยในการผูกขาดอำนาจของ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของแดนหมีขาว
ประเทศฝั่งยุโรปตะวันตกจึงดำเนินการยึดทรัพย์สินทั้งหมดของกุ่มโอลิการ์กกลับคืนมาเป็นของรัฐบาล โดยหนึ่งในทรัพย์สินของ โรมัน อบราโมวิช คือ สโมสรฟุตบอลเชลซี จึงเป็นเหตุผลให้ในวันที่ 10 มีนาคม 2022 รัฐบาลอังกฤษประกาศลงโทษอบราโมวิชอย่างเป็นทางการ พร้อมกับตัดสิทธิ์การเป็นเจ้าของเชลซี และกำหนดให้สโมสรแห่งนี้ถูกบริหารภายใต้ใบอนุญาตพิเศษจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
การเข้ามาควบคุมสโมสรเชลซี ของพรีเมียร์ลีกส่งผลให้แผนการขายทีม ของอบราโมวิชที่ประกาศไป ไม่กี่วันก่อนหน้าคำสั่งดังกล่าวหยุดชะงัก และรัฐบาลอังกฤษจะเป็นผู้ดูแลการซื้อขายสโมสรนับจากนี้ โดยพรีเมียร์ลีกยืนยันว่าการเข้ามาแทรกแซงการดำเนินกิจการสโมสรฟุตบอลแห่งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อผลงานในสนามของทีม โดยอำนาจในการฝึกซ้อมและส่งทีม ลงแข่งขันจะอยู่ที่บุคลากรเดิมทั้งหมด
อย่างไรก็ตามภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง กับธุรกิจหรือการหากำไรเข้าสู่สโมสรจะถูกแทรก แซงโดยส่วนกลางใหม่ทั้งหมด เชลซีจะถูกสั่งห้ามในเบื้องต้นไม่ให้รับเงิน จากตั๋วที่ยังไม่ได้ขายให้กับแฟนบอล, ไม่สามารถรับเงินจากการ ขายสินค้าในช็อปสโมสร และไม่อนุญาตให้ซื้อขายนักเตะหรือแม้กระทั่ง เสนอสัญญาใหม่ให้กับผู้เล่นในทีม
การเข้ามาแทรกแซงกิจการ ตรงนี้ของรัฐบาลอังกฤษไม่ได้ เป็นไปเพื่อบ่อนทำลายสโมสรเชลซี แต่เป็นไปเพื่อป้องกัน ไม่ให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจตกสู่มือของ อบราโมวิช ซึ่งเป็นบุคคลที่รัฐบาลอังกฤษคว่ำบาตรอยู่ ในทางกลับกันรัฐบาลอังกฤษจะมีหน้าที่ ดูแลผลประโยชน์ของสโมสรเชลซีให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อรักษามูลค่าของสโมสร แห่งนี้ไว้ให้ได้มากที่สุด ก่อนการขายสโมสรจะเกิด ขึ้นในเวลาไม่กี่เดือนข้างหน้า
อยู่รอดด้วยแรงสนับสนุนจากภาครัฐ
ความจริงที่เกิดขึ้นในขณะนี้แต่ มีน้อยคนนักจะสังเกตเห็นคือ ยิ่งรัฐบาลอังกฤษถือครองสิทธิ์ การบริหารเชลซีนานเท่าไหร่ พวกเขาก็มีแต่จะเสียผลประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น
เนื่องจากรัฐบาลต้องอัดฉีดเงินมากมาย เข้าไปผยุงกิจการให้มีสถานภาพไม่ ต่างจากช่วงเวลาที่มี โรมัน อบราโมวิช เป็นเจ้าของ ซึ่งอย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ต้นว่ารัฐบาลอังกฤษ ปิดช่องทางทุกอย่างไม่ให้สโมสรเชลซีมีรายได้ เพื่อขัดขวางไม่ให้ผล กำไรตกถึงกระเป๋านักธุรกิจชาวรัสเซีย
ดังนั้นแล้วรัฐบาลอังกฤษจะไม่ได้ กำไรหรือผลประโยชน์ใดจากการ ถือครองสโมสรเชลซีเช่นเดียวกัน ซ้ำร้ายพวกเขามีแต่ จะต้องนำงบประมาณเข้ามาช่วยเหลือทีมฟุตบอลแห่งนี้ เนื่องจากการแข่งขัน ฟุตบอลยังคงดำเนินต่อไป ภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าเหนื่อยนักเตะ, ค่าจ้างทีมงาน หรือค่าเดินทาง จึงอยู่ในการดูแลของ รัฐบาลอังกฤษแต่เพียงผู้เดียว
รัฐบาลอังกฤษได้มี คำสั่งมอบเงินสนับสนุน แก่สโมสรเชลซีในเรื่องเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายใต้ใบอนุญาตพิเศษ ที่ถูกแก้ไขเพื่อทีมโดยเฉพาะ แบ่งเป็นเงิน 9 แสนปอนด์สำหรับการจัดแมตช์ในบ้าน และเงินประมาณ 2 หมื่นปอนด์สำหรับค่าเดินทางในแมตช์เยือน
เงิน 9 แสนปอนด์ หรือ เกือบ 40 ล้านบาทต่อการเล่นในบ้านหนึ่งนัด ถือเป็นเงินที่เชลซี สามารถนำไปอุดรอยรั่ว ในเรื่องค่าใช้จ่ายได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งการมอบเงินตรงนี้แสดงให้เห็นถึง ความพยายามของรัฐบาลอังกฤษที่จะ รักษาสถานภาพการเงินของสโมสรแห่งนี้เอาไว้
เพราะในตอนแรกมี การอนุมัติงบให้เชลซีใช้จ่ายเพียง 5 แสนปอนด์ต่อหนึ่งเกมเหย้า หรือราว 22 ล้านบาท แต่หลังจากผ่านไปเพียงสองวันมีการประเมินแล้วว่าเงินเพียงเท่านี้ จากรัฐบาลจะไม่สามารถพยุงสถานะของ สโมสรได้จึงมีการเพิ่มเงินสนับสนุน แก่เชลซีเกือบเท่าตัวภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
นอกจากนี้รัฐบาลอังกฤษ ยังอนุญาตให้เชลซีรับเงิน รางวัลจากการแข่งขันทุก รายการได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็น พรีเมียร์ลีก หรือ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก เนื่องจากเงินตรงนี้จะไม่ สร้างผลประโยชน์ให้กับ โรมัน อบราโมวิช แต่จะเข้าสู่คลังของสโมสรเชลซีโดยตรง เพื่อเตรียมพร้อมให้กับเจ้าของคนถัดไป
ความพยายามของรัฐบาล อังกฤษในการรักษาสถานะทางการเงินของสโมสรเชลซี คือหลักประกันชั้นดีที่จะช่วยยืนยัน ว่าทีมฟุตบอลแห่งนี้จะไม่ได้รับผลกระทบขนาดใหญ่ ในช่วงเปลี่ยนผ่านเจ้าของ และเป็นเหตุผลที่ทำให้ เชลซียังคงเดินหน้าไปได้ตลอดรอด ฝั่งราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ไม่ล่มสลาย แต่สร้างความหวาดกลัว
ความกังวลที่มีต่อสโมสรเชลซี ในปัจจุบันในสายตาบุคคลทั่วไป จึงเกิดจากการแทรกแซง สู่บริษัทเอกชนโดยรัฐบาล ซึ่งเป็นวิธีการตรงข้ามกับแนวคิดเสรีนิยมใหม่ที่ลดบทบาท รัฐบาลในการเข้าบริหารธุรกิจ ทั้งหมดและผลักธุรกิจเหล่านั้น สู่มือเอกชนหรือกลุ่มทุนนานาชาติ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากเศรษฐกิจ ในระบบตลาดให้ได้มากที่สุด
การเข้ามาครอบครองสโมสรเชลซีของ โรมัน อบราโมวิช เกิดขึ้นจากการเดินหน้านโยบายเสรีนิยมใหม่ของอังกฤษเช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้วการที่อยู่ดี ๆ รัฐบาลอังกฤษจะเข้ามาแทรกแซง ทีมฟุตบอลแห่งนี้จึงสร้างความรู้สึก ในแง่ลบและไม่มั่นคงแก่แฟนบอล ไม่เพียงเพราะมีการกำจัดเจ้าของทีมอันเป็นที่รักออกไป แต่วิธีการบริหารยังตรงกันข้าม กับแนวทางทุกอย่าง ที่พาเชลซีก้าวไปสู่แถวหน้าของวงการฟุตบอล
ขณะนี้ เชลซี ยังคงดำเนินกิจการต่อไปโดยไม่แสวง หากำไรเป็นหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้ผลประโยชน์ตรงนี้ไหล เข้าสู่กระเป๋าของ โรมัน อบราโมวิช ซึ่งการดำเนินธุรกิจโดยไม่ให้ความสำคัญแก่การหากำไร ตรงข้ามกับแนวคิดของโลก ปัจจุบันที่อยู่ภายใต้อิทธิพล ของเสรีนิยมใหม่ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า กำไรคือเรื่องสำคัญ และภาวะขาดทุนคือเรื่องคอขาดบาดตาย
หากย้อนกลับไปในยุคหลัง สงครามโลกครั้งที่สอง การบริหารกิจการต่าง ๆ โดยรัฐบาลถือเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นแล้วการที่สโมสร เชลซีจะล่มสลายหรือไม่สามารถเอาตัวรอด ได้ภายในระยะเวลาสองเดือนที่ผ่านมา จึงเป็นไปไม่ได้เลย ยิ่งบวกกับความตั้งใจ ของรัฐบาลอังกฤษที่ต้องการพยุงสโมสรแห่งนี้เอาไว้ เชลซีแทบไม่ต้องเป็นกังวลกับ ชะตากรรมของพวกเขาในระยะสั้นเลย
ฝ่ายเดียวที่จะได้รับผลกระทบ หากสโมสรเชลซียังดำเนิน ธุรกิจในลักษณะนี้ต่อไป คือ รัฐบาลอังกฤษ ซึ่งนั่นเป็นเพราะรัฐบาลต้องชดเชยเงินมหาศาลแก่ทีมฟุตบอลแห่งนี้ นี่คือสิ่งที่เป็นไปตาม ธรรมชาติของโลกทุนนิยม อันนำมาสู่การล่มสลายของแนวคิดประชาธิปไตยสังคมนิยม และการกำเนิดของเสรีนิยมใหม่
เพราะรัฐบาลไม่อยากแบกรับภาระหรือการชดเชยแก่ธุรกิจใดที่มีแต่จะทำให้รัฐบาลสูญเสียเงิน จึงนำมาสู่การผลักทุกธุรกิจให้ดำเนินไปในระบบเอกชน นำมาสู่การเติบโตของเศรษฐกิจใหม่ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เนื่องจากการขยายตัวของตลาดและความพยายามในการแสวงหาผลกำไรอย่างเสรี
มีการประเมินว่า โรมัน อบราโมวิช ต้องการเงินเป็นค่าตอบแทนจาก การขายสโมสรเชลซีจำนวน 3 พันล้านปอนด์ แต่หลังจากรัฐบาลอังกฤษเข้า แทรกแซงกิจการสโมสรแห่งนี้ ราคาได้ลดเหลือราว 2 พันล้านปอนด์ เนื่องจากต้องการหาเจ้า ของใหม่ให้ได้ภายในเส้นตาย 31 พฤษภาคมที่ได้ขีดเส้นไว้ เพื่อกำจัดภาระค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลต้องแบกรับไว้ในช่วงเวลานี้
เชลซีไม่มีทางล่มสลายหาก อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลอังกฤษ แต่รัฐบาลอังกฤษ จะเสียเงินมหาศาลเพื่อพยุง สโมสรฟุตบอลแห่งนี้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ขณะนี้มี การผลักดันทุกทางเพื่อให้การซื้อขาย สโมสรเชลซีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อผลักทีมฟุตบอล แห่งนี้กลับเข้าสู่โลกเสรีนิยมใหม่อีกครั้ง
นี่คือเหตุผลว่าทำไม เชลซีถึงยังเอาตัวรอดได้ในช่วงก่อนเจ้าของใหม่ นั่นเพราะการเข้ามาแทรกแซงธุรกิจโดยรัฐบาลและชะลอการแสวงหาผบกำไรของกิจการ ฃไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแบบ ที่หลายคนเข้าใจ
แต่ถึงอย่างไร เชลซี จำเป็นต้องรีบกลับสู่การบริหารโดยเอกชนให้เร็วที่สุด เพราะพวกเขาคือแกะดำท่ามกลางแกะขาวในโลกเสรีนิยมขณะนี้ ไม่มีใครรู้ว่ารัฐบาลอังกฤษ จะอดทนถือสโมสรฟุตบอลแห่งนี้ได้อีกนานแค่ไหน
ดังนั้นแล้ว เจ้าของรายใหม่คือสิ่งที่เชลซีต้องการ ไม่ใช่เพื่อปัจจุบัน แต่เป็นเพื่ออนาคตของสโมสรเอง